CAT สานฝัน นวัตกรรมสานฝัน ตอน โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัว รุ่นที่ 2

โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัว (Family Folder Collector) หรือ เราเรียกส้ันๆ ว่า FFC เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) บนแท็บเล็ต โดยโปรแกรมถูกออกแบบให้ใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล โปรแกรมระบบงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สุขภาพชุมชน JHCIS ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ รพ.สต.นำไปใช้ เยี่ยมบ้าน คัดกรองโรค สำรวจพิกัดบ้าน สถานที่สำคัญ ในชุมชน ลดปัญหาการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน และส่งเสริมการทำงานเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

FFC Plus บนแท็บเลต จับไอทีสร้างสุขภาพในชุมชน

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ภารกิจหนึ่งของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือการลงพื้นที่เก็บข้อมูลคนในชุมชนเพื่อคัดครองผู้ป่วย เฝ้าระวังปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งก่อนป่วย อย่างงานระบาดวิทยา และงานติดตามหลังป่วย อาทิ คุณแม่หลังคลอด จึงเป็นที่มาให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ลุกขึ้นมาพัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัว รุ่นที่ 2 (Family Folder Collector : FFC Plus) สำหรับการใช้งานบนแท็บเลต แอนดรอยด์ (ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2.2-4.4) “วัชรากร หนูทอง” นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยโพรโตคอลและเครือข่ายไร้สาย (WNP) เนคเทค เล่าถึงที่มาของโปรแกรม FFC Plus ว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นหลังได้ศึกษาดูงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลาย ๆ แห่ง พบปัญหาเหมือนกัน คือต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก เพื่อจัดเก็บข้อมูลแฟ้มอนามัยครอบครัวที่บันทึกด้วยกระดาษ ในปี 2553 ทางเนคเทคจึงเริ่มพัฒนาโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ โดยเริ่มที่โปรแกรม FFC เวอร์ชั่นแรกที่รองรับการทำงานบนคอมพิวเตอร์พีซี และโน้ตบุ๊ก ใช้เวลาพัฒนา...

โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัว (FFC Plus)

ที่มา: สถานีโทรทัศน์ Thai PBS การใช้งานเทคโนโลยีในพื้นที่สาธารณสุขห่างไกล ด้วยอุปกรณ์พกพา โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัว (FFC Plus) ผลงานวิจัยและพัฒนาจากห้องปฏิบัติการวิจัยโพรโตคอลและเครือข่ายไร้สาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ออกอากาศเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ทางรายการทันเทค สถานีโทรทัศน์ Thai PBS

Family Folder Collector แอพบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัว เพื่อพัฒนาสาธารณสุขไทย

ที่มา: it24hrs เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสารภี โรงพยาบาลสารภี เชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC ) จัดสาธิตการใช้แอพบันทึกสุขภาพครอบครัว FFC Plus ด้วยแท็บเล็ต Android สำหรับเจ้าหน้าที่แพทย์เพื่อตอบสนองงานด้านสาธารณสุขชุมชน ในเรื่องการบันทึกข้อมูลบริการชุมชนนอกสถานที่ ซึ่งสามารถป้องกัน เฝ้าระวังโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว โฉมหน้าทีมพัฒนาแอพ Family Folder Collector (FFC ) นำทีมโดย นายวัชรากร หนูทอง นักวิจัย NECTEC (คนขวามือสุด) โดยโปรแกรมบันทึกสุขภาพครอบครัวบนแท็บเล็ต Android นี้ เริ่มใช้งานจริงเมื่อปี 2554 เพื่อทดแทนการจัดเก็บข้อมูลแฟ้มอนามัยครอบครัวแบบเก่า ที่เป็นเล่มรูปแบบกระดาษ ซึ่งมีปัญหาอุปสรรคคือ เสียพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลไม่ทันสมัย ไม่สามารถสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูล และการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนยุ่งยาก จากการจดลงกระดาษแล้วต้องมาพิมพ์บนคอมพิวเตอร์อีกที สำหรับแอพ...

ffc ตัวช่วยสถานีอนามัยเก็บข้อมูลสุขภาพได้แม่นยำ

ที่มา: e-commerce

เนคเทคส่งไอทีลดภาระงานอสม.

ที่มา: komchadluek เนคเทคส่งมอบโปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา ให้ก.สาธารณสุข เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลสุขภาพปชช.ระดับชุมชน ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า เนคเทคพร้อมที่จะส่งต่อ “โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา” ให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้งานด้านการเก็บข้อมูลสุขภาพประชาชนระดับชุมชน หลังจากรับโจทย์เกี่ยวกับปัญหาการบริการคนไข้เมื่อปี 2553 โปรแกรมดังกล่าว จะเพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ด้านการเก็บข้อมูลคนไข้ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ทดแทนการจดด้วยกระดาษในแบบเดิม ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลเสร็จแล้วยังต้องนำไปบันทึกลงระบบเก็บข้อมูลสุขภาพครอบครัว หรือ JHCIS ในคอมพิวเตอร์อีกขั้นตอนหนึ่ง จึงเสี่ยงต่อการคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่ต้องทำซ้ำ และมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน เนคเทคจึงพัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา ด้วยการต่อยอดมาจากระบบ JHCIS ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธาณสุขใช้เก็บข้อมูลระดับชุมชนมากว่า 10 ปี ปัจจุบันโปรแกรมฯแบบพกพาที่พัฒนา ได้นำไปใช้งานจริงแล้วโดยเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขร่วมทดสอบการใช้งานกระจายทั่วประเทศ 45 จังหวัด เช่นที่จ.อุบลราชธานีนำร่องใช้งานในขณะนี้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือสถานีอนามัย 8 อำเภอ 123 แห่งและจะขยายผลให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดภายในปีหน้า ด้าน นพ.สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา...